วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2555

สูตรที่ใช้ในการแยกตัวประกอบ



ผลต่างกำลังสอง 
                  2 -  2      =    ( – ล)(น  + ล) 
กำลังสองสมบูรณ์
           (  + ล)2         =        + 2นล +  2    
           (  - ล)2          =        -  2นล +  2 
ผลบวก -  ผลต่างกำลังสาม 
            3 +  3          =       ( + ล)(น - นล  + 2)
          3 -  3          =       (  -  ล)( นล + 2)
กำลังสามสมบูรณ์
           (  + ล)3        =       3 +  32   +  3นล2  +   3      
                (  - ล)3      =       3 -  32   +  3นล2 - 3       
หน้ากลางหลัง  (สูตรนี้ใช้เครื่องหมายด้วยนะ  อย่าลืม!)
              (น + ก  + ล)2          =           2  +     +    +  2นก  + 2นล  +  2กล





                                            สูตรการหาพื้นที

                   พื้นที่รูปสามเหลี่ยม                 =      1/2  × ฐาน  ×  สูง
                                      พื้นที่รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส              =       ด้าน  ×   ด้าน
                                   หรือ                 =      1/2 x ผลคูณของเส้นทะแยงมุม
                  พื้นที่รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า              =      กว้าง  ×   ยาว
                  พื้นที่สี่เหลี่ยมด้านขนาน            =      ฐาน x สูง 
                  พื้นที่สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน         =      ฐาน x สูง          
                                  หรือ                             1/2  x  ผลคูณของเส้นทะแยงมุม
                  พื้นที่สี่เหลี่ยมคางหมู                =      1/2  x สูง x ผลบวกด้านคู่ขนาน
                  พื้นที่สี่เหลี่ยมใด ๆ                   =      1/2 x เส้นทะแยงมุม x ผลบวกเส้นกิ่ง
                  พื้นที่สี่เหลี่ยมรูปว่าว                 =      1/2  x ผลคูณของเส้นทะแยงมุม
                  พื้นที่วงกลม                          =      ¶r2
                 
                                                        การเปลี่ยนหน่วย
              1  กิโลเมตร      =    1000     เมตร
         เมตร            =    100    เซนติเมตร
                 1 เซนติเมตร      =    10      มิลลิเมตร
                 1  ไมล์            =     1760    หลา    
                 1   ไมล์           ≈     1.6    กิโลเมตร
                 1   หลา           =     3       ฟุต
                 1   ฟุต            =     12     นิ้ว
                 1   นิ้ว            ≈      2.54    เซนติเมตร
                 1   ไร่            =    4    งาน
                 1    งาน         =    100     ตารางวา
                 1    วา           =     2   เมตร
                 1   ตารางวา    =     4    ตารางเมตร

วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

เรียนเรขาคณิตไปทำไม

จุดมุ่งหมายหลักของการเรียนการสอนเรขาคณิต  มี  ประการดังนี้

       ประการที่ การฝึกให้เป็นคนมีเหตุมีผล  การเรียนเรขาคณิตไม่ว่าจะเป็นการสำรวจหรือเริ่มต้นด้วยระบบสัจพจน์มักจะมีผลสืบเนื่องติดตามมาซึ่งไม่จำเป็นต้องสำรวจ  หรือตั้งระบบใหม่   เราสามารถพิสูจน์ผลสืบเนื่องนั้น  เรขาคณิตนิยมใช้การพิสูจน์บนข้อมูลที่มีอยู่ซึ่งเป็นลักษณะที่ต้องการให้คนมีเหตุผลมากกว่าจะเชื่อโชคลาง  หรือเดาสุ่ม  นอกจากนี้พื้นฐานของการพิสูจน์เป็นรากฐานของการเรียนกฎหมาย  ในการพิสูจน์นักเรียนต้องแยกแยะได้ว่าอะไรเป็นเหตุ  อะไรเป็นผลที่ต้องพิสูจน์  ส่วนใดนำมาอ้างอิงได้  แค่เพียงแยกแยะเหตุผลออกได้เองนับว่าน่าพอใจระดับหนึ่ง  แต่ถ้าจะมุ่งหวังจากการเรียนเรขาคณิตอย่างเต็มที่จะมุ่งฝึกความสามารถต่อไปนี้

1.  ความสามารถด้านนิรนัย
2.  สามารถยกตัวอย่างค้าน ( counterexample )  สำหรับข้อความที่เป็นเท็จ
3.   สามารถให้นิยามที่ชัดเจนและรัดกุม
4.   รู้จักเงื่อนไขที่จำเป็น  และเงื่อนไขที่เพียงพอ
5.   สามารถพิสูจน์บางแบบ  เช่น พิสูจน์โดยแจงกรณี ( proof  by  cases )  และ             
     พิสูจน์โดยทำให้เกิดข้อขัดแย้ง ( proof  by  contradiction ) เป็นต้น
6.    ให้รู้จักระบบสัจพจน์  บทบาท  และคุณค่าของระบบสัจพจน์

ประการที่ ฝึกความสามารถด้านมิติสัมพันธ์   สามารถมองโครงสร้างหรือรูปสำคัญออกจากรูปที่ซับซ้อน  ( field  independent )  หรือสามารถมองว่ารูปที่กำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของอะไรบ้าง  ตลอดจนการจินตนาการในเรื่องสมมาตรแบบต่าง ๆ  ทั้งการเลื่อน    การสะท้อน  และการหมุน  และรับรู้ความผิดปกติของรูป  เช่น  เขียนขอบแก้วทรงกระบอกเป็นลูกรักบี้ ไม่ว่าจะมองมุมใดเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่พบความหักของโค้งบนระนาบ ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์นี้หมายรวมถึงการกะประมาณด้วยการมองรูปหรือการสำรวจสเปซรอบ ๆ  ตัวเรา  เป็นเรื่องที่เด็กคุ้นเคย และให้ความสนใจตามธรรมชาติอยู่แล้ว  เพียงแต่ขาดการชี้นำที่ดี  ทำให้พัฒนาไม่ถึงขีดสุด  และที่พบอยู่ในชีวิตจริงมักเป็นสิ่ง  มิติ
                ประการที่ 3 มีพื้นฐานสำหรับการนำไปใช้ ทั้งด้านเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์  กลศาสตร์
แสง  เสียง  และวิศวกรรมศาสตร์  การออกแบบทั้งด้านสัญลักษณ์และเครื่องกล  การสำรวจ สถาปัตยกรรม  ช่างไม้  ช่างตัดเสื้อ  การเดินเรือ  เช่นโครงรูปสามเหลี่ยมเป็นโครงที่แข็งแรง  ใช้ยึดเสากับโครงที่ยังไม่สำเร็จ  โครงรูปสี่เหลี่ยมปรับเป็นรูปสามเหลี่ยมใช้ออกแบบคีมล็อค  การใช้วงเวียนและสันตรงออกแบบรูปตราสัญลักษณ์  และตัวอักษร การใช้มุมในส่วนของวงกลม  ช่วยให้เรือไม่เกยหินโสโครก  โดยไม่ต้องแล่นให้ไกล ฝั่งนัก  เป็นต้น
                นอกจากนี้เราอาจใช้เรขาคณิตเป็นแบบจำลอง อธิบายผ่านมติของทางเลขคณิต เช่น  เศษส่วน  ทางพีชคณิต  เช่น  (a + b)2 , (a + b + c)2 , a3 + b3  ฯลฯ และอาจใช้เป็นสื่อกลางสำหรับการแก้ปัญหาที่ใช้หลาย ๆ  ข้อผสมกัน  เช่น  การหาค่ามุมจากรูปเป็นการผสมผสานเลขคณิตกับพีชคณิต 

ทำไมนักเรียนจึงเรียนเรขาคณิตไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร
                สมพล เล็กสกุล ได้สรุปปัญหาการเรียนการสอนเรขาคณิตไว้ดังนี้
1.    อ่านโจทย์แล้วไม่เข้าใจความหมายของโจทย์หรือของทฤษฎีบทนั้น
2.    ไม่สามารถแยกแยะโจทย์ได้ว่าข้อความตอนใดเป็นเหตุหรือสิ่งที่กำหนดให้และตอน 
     ใดเป็นผล  หรือสิ่งที่ต้องพิสูจน์
3.    นักเรียนยังขาดพื้นฐานทางเรขาคณิตบางประการจึงไม่สามารถแก้ปัญหาได้
4.    ไม่สามารถหาแนวการคิดพิสูจน์ได้
5.    ไม่ทราบว่าจะเริ่มต้นการเขียนอะไรก่อน
6.    การลำดับขั้นตอนของการเขียนพิสูจน์ยังไม่ต่อเนื่อง  ( กระโดดไปกระโดดมา )
7.    เขียนการพิสูจน์วกไปวนมาไม่ได้จุดที่ต้องการ
8.    ใช้วิธีท่องจำการพิสูจน์
9.    มีความสนใจต่อการเรียน  และการทำแบบฝึกหัดน้อยไป
10.  ไม่มีความอดทนต่อการเขียนการพิสูจน์
11.  ทำงานไม่เป็นระบบ  ไม่มีแบบแผน  รีบเร่งจนขาดความระมัดระวัง
12.  เขียนรูปไม่ถูกต้อง  มักจะเขียนตามความคุ้นเคยหรือเข้าข้างตัวเอง  (ไม่เป็นรูป
      ทั่ว ๆ ไป)
13.   สรุปผลหรือข้ออ้างอิงจากการดูรูป  หรือจากการทดลอง

กรมวิชาการโดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้จัดทำคู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยกำหนดมาตรฐานของหลักสูตรพุทธศักราช 2542
เกี่ยวกับเรขาคณิตไว้เป็นสาระที่  ดังนี้   
            มาตรฐาน  3.1     :     อธิบายและวิเคราะห์รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติได้
            มาตรฐาน  3.2     :     ใช้การนึกภาพ  (visualization)  ใช้เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิ
                                            (spatial reasoning)  และใช้แบบจำลองทางเรขาคณิต 
                                            (geometric  model)  ในการแก้ปัญหาได้
 นอกจากนี้ได้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ เรื่องเรขาคณิต ในช่วงชั้น  มัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ไว้ดังนี้
1. เข้าใจเกี่ยวกับสมบัติความเท่ากันทุกประการและความคล้ายของรูปสามเหลี่ยม เส้นขนาน ทฤษฎีบทปีทากอรัสและบทกลับ    การนำไปใช้ในการให้เหตุผล  และแก้ปัญหาได้
 การสร้างทางเรขาคณิตเบื้องต้น 
เข้าใจเกี่ยวกับการแปลง(transformation) ทางเรขาคณิตในเรื่องการเลื่อนทางขนาน(translation) การสะท้อน (reflection) และการหมุน (rotation) และนำไปใช้ได้
3. บอกภาพที่เกิดขึ้นจากการเลื่อนขนาน การสะท้อน และการหมุนรูปต้นแบบและสามารถอธิบายวิธีการที่จะได้ภาพที่ปรากฎเมื่อกำหนดรูปต้นแบบและภาพนั้นให้
          อีกทั้งได้จัดทำตัวอย่างสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  เรื่องเรขาคณิต  ในช่วงชั้น 
มัธยมศึกษาปีที่1- 3 ดังนี้
        สาระการเรียนรู้พื้นฐาน
   1.                  การสร้างทางเรขาคณิตเบื้องต้น  (โดยใช้วงเวียนและสันตรงที่ไม่เน้นการพิสูจน์)
-                   การสร้างพื้นฐาน
-                   การสร้างรูปอย่างง่าย
   2.                  การแปลง  (transformation)  ทางเรขาคณิต
-                   การเลื่อนทางขนาน  (translation)
-                   การหมุน  (rotation)
-                   การสะท้อน  (reflection)
   3.                  รูปเรขาคณิตและการให้เหตุผล
-                   สมบัติของความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยม
-                   เส้นขนาน
-                   ความคล้าย
-                   ทฤษฎีบทปีทาโกรัสและบทกลับ
   4.                  การวัด
-                   พื้นที่
-                   ปริมาตรของปริซึม  ทรงกระบอก  พีระมิด  กรวยและทรงกลม
-                   พื้นที่ผิวของปริซึมและทรงกระบอก
         สาระการเรียนรู้เลือก
   1.                  การพิสูจน์ทางเรขาคณิต
-                   สมบัติของวงกลม
-                   การพิสูจน์เกี่ยวกับรูปเหลี่ยมและวงกลม
-                   การสร้างเกี่ยวกับรูปเหลี่ยมและวงกลม
   2.                  แบบรูป

                จากการศึกษาหลักสูตรข้างต้น จะเห็นว่าได้มีการปรับปรุงมาตรฐานทั้งเนื้อหาและกระบวนการ ทำให้เห็นว่าจุดเน้นที่ต้องทำในการผลิตครูคือ การทำให้นักศึกษาครูมีความรู้พื้นฐานที่ครอบคลุมหลักสูตรทางเรขาคณิตในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน อีกทั้งควรฝึกฝนให้มีความสามารถด้านกระบวนการให้เหตุผลทั้งแบบอุปนัยและนิรนัย จึงจะสามารถสอนเรขาคณิตในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานได้
                โกมล ไพศาล (2540 )ได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสมรรถภาพของครูด้านเนื้อหาสาระทางเรขาคณิต พบว่าครูควรมีความรู้ต่อไปนี้
1.              รากฐานของเรขาคณิต ประกอบด้วย
1.1       พัฒนาการของเรขาคณิตเชิงประวัติศาสตร์
1.2       ระบบสัจพจน์
1.3       โครงสร้างของเรขาคณิตระบบยุคลิด
1.4       ข้อบกพร่องในหนังสืออิลิเมนต์ของยุคลิด
1.5       สัจพจน์ของการขนานและแนวคิดที่นำไปสู่ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเรขาคณิตนอกระบบยุคลิด
2.              ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเรขาคณิตระบบยุคลิด
2.1       จุด เส้นตรง ระนาบ ส่วนของเส้นตรง รังสี และมุม
2.2       ความเท่ากันทุกประการ
2.3       เส้นขนาน
2.4       รูปหลายเหลี่ยม
2.5       ความคล้าย
2.6       การแปลงสภาพในเรขาคณิตระบบยุคลิด
2.7       ทฤษฎีบทเมเนเลาส์และทฤษฎีบทของเซวา
2.8        
3.              วงกลม
3.1       ความหมายของวงกลม วงกลมที่เท่ากัน และสิ่งที่เกี่ยวข้องกับวงกลม เช่น
จุดศูนย์กลาง รัศมี และคอร์ด
3.2       สมบัติเกี่ยวกับเส้นสัมผัสของวงกลม
3.3       สมบัติเกี่ยวกับเส้นโค้ง มุมที่จุดศูนย์กลาง และคอร์ดของวงกลม
3.4       สมบัติเกี่ยวกับมุมในส่วนโค้งของวงกลม มุมที่สัมพันธ์กับคอร์ดและเส้นสัมผัส
4.              การสร้างในเรขาคณิต
4.1       การสร้างขั้นพื้นฐาน
4.2       การสร้างรูปสามเหลี่ยมและรูปสี่เหลี่ยม
4.3       การสร้างวงกลมและรูปหลายเหลี่ยมด้านเท่ามุมเท่าบางรูป
4.4       การสร้างรูปหลายเหลี่ยมให้มีพื้นที่เท่ากับรูปหลายเหลี่ยมใด ๆ บางรูป
4.5       ปัญหาการสร้างที่มีชื่อเสียง 3 ข้อ

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555



คณิตศาสตร์
ชื่อย่อ:
Mathematics


คณิตศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่มุ่งค้นคว้าเกี่ยวกับ โครงสร้างนามธรรมที่ถูกกำหนดขึ้นผ่านทางกลุ่มของสัจพจน์ซึ่งมีการให้เหตุผลที่แน่นอนโดยใช้ตรรกศาสตร์สัญลักษณ์ และสัญกรณ์คณิตศาสตร์ เรามักนิยามโดยทั่วไปว่าคณิตศาสตร์เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบและโครงสร้าง, การเปลี่ยนแปลง, และปริภูมิ กล่าวคร่าวๆ ได้ว่าคณิตศาสตร์นั้นสนใจ "รูปร่างและจำนวน." เนื่องจากคณิตศาสตร์มิได้สร้างความรู้ผ่านกระบวนการทดลอง บางคนจึงไม่จัดว่าคณิตศาสตร์เป็นสาขาของวิทยาศาสตร์.

คำว่า "คณิตศาสตร์" (คำอ่าน: คะ-นิด-ตะ-สาด) มาจากคำว่า คณิต (การนับ หรือ คำนวณ) และ ศาสตร์ (ความรู้ หรือ การศึกษา) ซึ่งรวมกันมีความหมายโดยทั่วไปว่า การศึกษาเกี่ยวกับการคำนวณ หรือ วิชาที่เกี่ยวกับการคำนวณ. คำนี้ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า mathematics มาจากคำภาษากรีก (mathema) แปลว่า "วิทยาศาสตร์, ความรู้, และการเรียน" และคำว่า (mathematiks) แปลว่า "รักที่จะเรียนรู้ ในอเมริกาเหนือนิยมย่อ mathematics ว่า math ส่วนประเทศอื่นๆ ที่ใช้ภาษาอังกฤษนิยมย่อว่า maths.
ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ผ่านทางการวิจัยและการประยุกต์ใช้ คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมืออันหนึ่งของวิทยาศาสตร์ อย่างไรก็ตาม การคิดค้นทางคณิตศาสตร์ไม่จำเป็นต้องมีเป้าหมายอยู่ที่การนำไปใช้ทางวิทยาศาสตร์ (ดู คณิตศาสตร์บริสุทธิ์ และคณิตศาสตร์ประยุกต์)
โครงสร้างต่างๆ ที่นักคณิตศาสตร์สนใจและพิจารณานั้น มักจะมีต้นกำเนิดจากวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และสังคมศาสตร์ โดยเฉพาะฟิสิกส์ และเศรษฐศาสตร์. ปัญหาทางคณิตศาสตร์ในปัจจุบัน ยังเกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้ในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และทฤษฎีการสื่อสาร อีกด้วย.
เนื่องจากคณิตศาสตร์นั้นใช้ตรรกศาสตร์สัญลักษณ์และสัญกรณ์คณิตศาสตร์ ซึ่งทำให้กิจกรรมทุกอย่างกระทำผ่านทางขั้นตอนที่ชัดเจน เราจึงสามารถพิจารณาคณิตศาสตร์ว่า เป็นระบบภาษาที่เพิ่มความแม่นยำและชัดเจนให้กับภาษาธรรมชาติ ผ่านทางศัพท์และไวยากรณ์บางอย่าง สำหรับการอธิบายและศึกษาความสัมพันธ์ทั้งทางกายภาพและนามธรรม. ความหมายของคณิตศาสตร์นั้นยังมีอีกหลายมุมมอง ซึ่งหลายอันถูกกล่าวถึงในบทความเกี่ยวกับปรัชญาของคณิตศาสตร์.
คณิตศาสตร์ยังถูกจัดว่าเป็นศาสตร์สัมบูรณ์ โดยจำไม่เป็นต้องมีการอ้างถึงใดๆ จากโลกภายนอก. นักคณิตศาสตร์กำหนดและพิจารณาโครงสร้างบางประเภท สำหรับใช้ในคณิตศาสตร์เองโดยเฉพาะ, เนื่องจากโครงสร้างเหล่านี้ อาจทำให้สามารถอธิบายสาขาย่อยๆ หลายๆ สาขาได้ในภาพรวม หรือเป็นประโยชน์ในการคำนวณพื้นฐาน.
นอกจากนี้ นักคณิตศาสตร์หลายคนก็ทำงานเพื่อเป้าหมายเชิงสุนทรียภาพเท่านั้น โดยมองว่าคณิตศาสตร์เป็นศาสตร์เชิงศิลปะ มากกว่าที่จะเป็นศาสตร์เพื่อการนำไปประยุกต์ใช้ (ดังเช่น จี. เอช. ฮาร์ดี ที่ได้กล่าวไว้ในหนังสือ A Mathematician's Apology); แรงผลักดันในการทำงานเช่นนี้ มีลักษณะไม่ต่างไปจากที่กวีและนักปรัชญาได้ประสบ และเป็นสิ่งที่ไม่สามารถอธิบายได้. อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ กล่าวว่า คณิตศาสตร์เป็นราชินีของวิทยาศาสตร์ ในหนังสือ Ideas and Opinions ของเขา.
องค์ความรู้ในคณิตศาสตร์รวมกันเป็นสาขาวิชา หลักการเบื้องต้นที่เริ่มจากเลขคณิตไปยังการประยุกต์ใช้งานพื้นฐานของสาขาคณิตศาสตร์ ที่รวมพีชคณิต เรขาคณิต ตรีโกณมิติ สถิติศาสตร์ และแคลคูลัส เป็นหลักสูตรแกนในการศึกษาขั้นพื้นฐาน แม้ว่าจะได้มีการพัฒนาและขยายขอบเขตไปอย่างมากมายในช่วงเวลาหลายร้อยปี สาขาวิชาคณิตศาสตร์ยังคงถูกจัดว่าเป็นสาขาวิชาเดี่ยว ที่มีลักษณะแตกต่างจากสาขาอื่นๆ